eco farming logo

Special Collection

ebook
rare
fb
lc
go
Home แนะนำหนังสือใหม่

 

16

 

วชิราภรณ์ ไชยชาติ. (2550). โบราณวัตถุชิ้นสำคัญในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ  ขอนแก่น. ขอนแก่น : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ขอนแก่น.

 

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ขอนแก่น รวบรวม สงวนรักษาและจัดแสดงโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ซึ่งพบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนซึ่งล้วนเป็นหลักฐานที่แสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองของชุมชนจากอดีตสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน โบราณวัตถุหลายชิ้นมีความโดดเด่นด้วยฝีมือช่าง มีคุณค่าทางวิชาการด้านโบราณคดี ประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญา บางชิ้นได้รับการคัดเลือกให้เป็นโบราณวัตถุที่เป็นสมบัติชิ้นสำคัญของชาติ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ขอนแก่น จึงคัดเลือกโบราณวัตถุชิ้นสำคัญ จำนวน 15 รายการ เพื่อบอกเล่าเรื่องราวและรายละเอียดทางวิชาการของโบราณวัตถุดังกล่าวเพื่อเผยแพร่แก่ประชาชนผู้สนใจ

 

 

 

 

 

13

 

กรมศิลปากร. (2552). วัดมหาธาตุวรวิหาร จังหวัดราชบุรี. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร.

 

เผยแพร่ข้อมูลทางวิชาการและหลักฐานที่แสดงถึงความสำคัญของวัดมหาธาตุวรวิหาร จังหวัดราชบุรี ที่ได้รับความศรัทธาบูชาสืบเนื่องอย่างยาวนานตลอดมา โดยได้พบร่องรอยการอยู่อาศัยของชุมชนมาตั้งแต่ในวัฒนธรรมทวารวดี ราวพุทธศตวรรษที่ 12 - 16 ต่อมาในราวพุทธศตวรรษที่ 17 - 18 มีการสร้างอาคารศาสนสถานในพุทธศาสนานิกายมหายานขึ้น ประกอบด้วยปราสาทประธานและแนวกำแพงแก้วตามคติจักรวาทิน ตามรูปแบบศิลปกรรมเขมรแบบบายน และพบหลักฐานการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงศาสนสถานแห่งนี้เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

 

 

 

14

 

กรมศิลปากร. (2552). เทคนิคการให้บริการทรัพยากรสารสนเทศประเภทสื่อสิ่งพิมพ์. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร.

 

แนะนำความรู้เกี่ยวกับการจัดเก็บ การบริการสารสนเทศ และเครื่องมือช่วยค้นสารสนเทศ การเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศด้วยบัตรรายการ การเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศออนไลน์ (โอแพค - OPAC) การเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศด้วยดรรชนีและบรรณานุกรม การเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศด้วยหนังสืออ้างอิง การเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศประเภทฐานข้อมูล การเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศจากอินเทอร์เน็ต และเทคนิคการให้บริการทรัพยากรสารสนเทศ

 

 

 

15

 

จันทรา  ทองสมัคร. (2554). ผ้ายกเมืองนคร. นครศรีธรรมราช : ศูนย์วัฒนธรรม  มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.

 

นำเสนอสาระเรื่องราวความเป็นมาของผ้ายก ลักษณะของผ้า ลวดลาย  รูปแบบของผ้ายกเมืองนคร เครื่องมือที่ใช้ในการทอผ้า การสังเคราะห์ผ้ายกเมืองนครผืนโบราณที่รวบรวมได้วิเคราะห์ลักษณะผืนผ้า การใช้เส้นยืนเส้นพุ่ง รูปแบบของลายกรวยเชิง ลายขอบผ้าและลวดลายท้องผ้า และการถอดบทเรียนจากผืนผ้าและการสืบทอดภูมิปัญญาการทอผ้ายกเมืองนคร

 

 

 

 

20

 

 

บุญยงค์  เกศเทศ. (2548). คนไทในชมพูทวีป. พิมพ์ครั้งที่  2. กรุงเทพฯ : หลักพิมพ์.

 

ถ้าจะแบ่งกลุ่มชนที่พูดภาษาตระกูลไท - ลาว  ที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  โดยมีสภาพภูมิศาสตร์และลำน้ำเป็นเกณฑ์  อาจจะแยกได้ 4  กลุ่ม  ได้แก่  1)  กลุ่มน้ำโขง  บริเวณตั้งแต่สิบสองปันนา  มณฑลยูนนาน  ตอนเหนือของพม่า  ลาว  ภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือของไทย  2)  กลุ่มแม่น้ำสาละวิน  คือคนไทที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในตอนเหนือของพม่า  ลุ่มน้ำพรหมบุตร  และแคว้นอัสสัมของอินเดีย  3)  กลุ่มแม่น้ำดำและแม่น้ำแดงในเวียดนามและจีน  4)  กลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา  ได้แก่  กลุ่มชาวไทที่อยู่ในประเทศไทย

หนังสือ  คนไทในชมพูทวีป  กล่าวถึงกลุ่มชาติพันธุ์ไทแถบลุ่มน้ำพรหมบุตร  ได้แก่  ไทอาหมในแคว้นอัสสัม  ไทกะแซ  (มณีปุระ)  ในเมืองมณีปุระ  ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศอินเดีย  ชนเผ่าไทคำตี่  อาศัยอยู่แถบฝั่งแม่น้ำพรหมบุตรตอนบน  และชาวไทผาแก่  (พาเก)  ริมฝั่งแม่น้ำในรัฐอัสสัม 


 

19

 

 

 

 

บุญยงค์  เกศเทศ. (2548). ร้อยขุนเขาเผ่าไทในเวียดนาม. พิมพ์ครั้งที่  2. กรุงเทพฯ:

            หลักพิมพ์.

 

กล่าวถึงกลุ่มชาติพันธุ์ไทที่ตั้งภูมิลำเนาอยู่ในเขตปกครองของประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียมนาม  ซึ่งีกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ถึง 54  กลุ่ม  ในจำนวนนี้มี  8  กลุ่ม  ที่ยังใช้ภาษาตระกูลไท – ไต  เช่น  ชนเผ่า  BO-Y  (โบอี)  ชาวไท  GIAY  (ไส, หยัง)  ชนเผ่า  LAO  หรือไทลาว  และชนเผ่า  TAY  (ไต)  เป็นต้น  กลุ่มชาติพันธุ์ไทเหล่านี้ยังคงรักษาความเป็นชาติพันธุ์ไทไว้ได้อย่างพร้อมมูล  ทั้งภาษาพูดและวิถีชีวิต

 

 


12

 

 

มหาวิทยาลัยลักษณ์. (2553). โบราณสถานตุมปัง  โบราณสถานและโบราณวัตถุในจังหวัดนครศรีธรรมราช. นครศรีธรรมราช : มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์.

 

            เอกสารฉบับนี้จัดพิมพ์ขึ้นเพื่อนำเสนอผลการศึกษาทางโบราณคดีของแหล่งโบราณคดีตุมปัง  อำเภอท่าศาลา  จังหวัดนครศรีธรรมราช  ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการอนุรักษ์และพัฒนาโบราณสถานแหล่งชุมชนแรกเริ่ม  จังหวัดนครศรีธรรมราช  เนื้อหาภายในเล่มกล่าวถึง  การดำเนินงานขุดแต่งโบราณสถาน  และการขุดค้นทางโบราณคดี  โบราณสถานภายหลังการขุดค้นทางโบราณคดี  โบราณวัตถุที่พบจากการขุดแต่ง  การขุดค้นทางโบราณคดี  ผลการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และการอนุรักษ์แหล่ง  รูปบุคคลและความเชื่อเรื่อง  “ทวดตุมปัง”  โบราณสถานบ้านเนินอิฐและชุมชนโบราณเมืองโมคลาน

 

 


17

 

 

พระตำหนักเมืองนคร. (2544). นครศรีธรรมราช : พีเค  กรุ๊ป.

 

            กล่าวถึงประวัติการก่อสร้างพระตำหนักเมืองนคร  หมู่ที่  3  ตำบลบ้านเกาะ  อำเภอพรหมคีรี  จังหวัดนครศรีธรรมราช  ซึ่งได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ  พระราชทานชื่อพระตำหนักว่า  “พระตำหนักเมืองนคร”  ทรงโปรดเกล้าฯ  ให้สมเด็จพระเทพรัตนสุดาฯ  สยามบรมราชกุมารี  เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์มาทรงเปิด  เมื่อวันที่  17  สิงหาคม  2541

 

 

 


11

 

 

 

อารยธรรมแดนใต้  ตามพรลิงค์  ลังกาสุกะ  ศรีวิชัย  และศรีธรรมราชมหานคร  (เมือง  12  นักษัตร). (2554).  นครศรีธรรมราช : สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดนครศรีธรรมราช.

 

เอกสารประกอบการสัมมนาโครงการส่งเสริมการท่องเที่ยว เพื่อประยุกต์ประวัติศาสตร์สู่การส่งเสริมการท่องเที่ยวของภูมิภาค เนื้อหาโดยสรุปกล่าวถึงเมืองตามพรลิงค์ จากหลักฐานต่าง ๆ ได้แก่ จารึก หลักฐานจากโบราณสถานและโบราณวัตถุ  และอาณาจักรอื่น ๆ  ในคาบสมุทรมลายู 

 

 

 




18

 

 

 

บุญยงค์  เกศเทศ. (2546). สืบสานวัฒนธรรมชาติพันธุ์  สายใยวิญญาณลุ่มน้ำพรหมบุตร. กรุงเทพฯ :   หลักพิมพ์.

 

หนังสือเล่มนี้สื่อให้เห็นความเกี่ยวพันระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์ไทที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในลุ่มน้ำพรหมบุตรในอินเดีย  เช่น  ไทอาหม  ซึ่งเป็นบรรพชนไทโบราณ  ปัจจุบันอาศัยอยู่ในแคว้นอัสสัม  และคนไทกลุ่มอื่น ๆ  เช่น  ไทกะแซในเมืองมณีปุระ ไทคำตี่ในเขตเมืองโลหิต  ไทผาแก่หรือพาเก  ตั้งบ้านเรือนอยู่ริมฝั่งแม่น้ำบุรี  กลุ่มชาติพันธุ์ไทเหล่านี้แม้จะอยู่กันคนถิ่นแดน แต่มีความคล้ายคลึงและยังมีความเกี่ยวพันกันระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์ไทต่าง ๆ

 

 

 

 

 

 

 

mythaiguide.ru

ขับเคลื่อนโดย Joomla!. Designed by: Grounded WordPress Template  Valid XHTML and CSS.